วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551

จิตรกรรม,ประติมากรรม,สถาปัตยกรรม

จิตรกรรม ( Painting)
เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการขีดเขียน การวาด และระบายสี เพื่อให้เกิดภาพ บรรลุ วิริยาภรณ์ประภาส 1997เป็นงานศิลปะที่มี 2 มิติ เป็นรูปแบน ไม่มีความลึกหรือนูนหนา แต่สามารถเขียนลวงตาให้ เห็นว่ามีความลึกหรือนูนได้ ความงามของจิตรกรรมเกิดจากการใช้สีในลักษณะต่าง ๆ กัน
องค์ประกอบสำคัญของงานจิตรกรรม คือ
1. ผู้สร้างงาน หรือ ผู้วาด เรียกว่า จิตรกร
2. วัสดุที่ใช้รองรับการวาด เช่น กระดาษ ผ้า ผนัง ฯลฯ
3. สี เป็นสิ่งที่แสดงออกถึงเนื้อหา เรื่องราวเกี่ยวกับผลงาน
งานจิตรกรรมเป็นงานศิลปะที่เก่าแก่ดั้งเดิมของมนุษย์ เริ่มตั้งแต่การขีดเขียนบนผนังถ้ำ บนร่างกาย บนภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ จนพัฒนามาเป็นภาพวาดที่ใช้ประดับตกแต่งในปัจจุบัน การวาดภาพเป็นพื้นฐานของงานศิลปะทุกชนิด ผู้สร้างสรรค์งานจิตรกรรม เรียนว่า จิตรกร(Painter)
งานจิตรกรรม แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ
1. การวาดเส้น (Drawing) เป็นการวาดภาพโดยใช้ปากกา หรือดินสอ ขีดเขียนลงไป แปลก กิจเฟื่องฟู 2539บนพิ้นผิววัสดุรองรับเพื่อให้เกิดภาพ การวาดเส้น คือ การขีดเขียนให้เป็นเส้นไม่ว่าจะเป็นเส้นเล็ก หรือเส้นใหญ่ ๆ มักมีสีเดียวแต การวาดเส้นไม่ได้จำกัดที่จะต้องมีสีเดียว อาจมีสีหลาย ๆ สีก็ได้ การวาดเส้น จัดเป็นพื้นฐานที่สำคัญของงานศิลปะแทบทุกชนิด อย่างน้อย ผู้ฝึกฝนงานศิลปะควรได้มีการฝึผนงานวาดเส้นให้เชี่ยวชาญเสียก่อน ก่อนที่จะไปทำงานด้านอื่น ๆ ต่อไป

2. การระบายสี (Painting) เป็นการวาดภาพโดยการใช้พู่กัน หรือแปรง หรือวัสดุอย่างอื่น มาระบายให้เกิดเป็นภาพ การระบายสี ต้องใช้ทักษะการควบคุมสีและเครื่องมือมากกว่าการวาด เส้น ผลงานการระบายสีจะสวยงาม เหมือนจริง และสมบูรณ์แบบมากกว่าการวาดเส้น
ลักษณะของภาพจิตรกรรม
งานจิตรกรรม ที่นิยมสร้างสรรค์ ขึ้นมีหลายลักษณะ ดังนี้ คือ
1. ภาพหุ่นนิ่ง (Sill life) เป็นภาพวาดเกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้ หรือ วัสดุต่าง ๆ ที่ไม่มีการ เคลื่อนไหว เป็นสิ่งที่อยู่กับที่
2. ภาพคนทั่วไป แบ่งได้ 2 ชนิด คือ 2.1 ภาพคน (Figure) เป็นภาพที่แสดงกิริยาท่าทางต่าง ๆ ของมนุษย์ โดยไม่เน้นแสดงความ เหมือนของใบหน้า 2.2 ภาพคนเหมือน (Potrait) เป็นภาพที่แสดงความเหมือนของใบหน้า ของคน ๆ ใดคนหนึ่ง
3. ภาพสัตว์ ( Animals Figure) แสดงกิริยาท่าทางของสัตว์ทั้งหลาย ในลักษณะต่าง ๆ
4. ภาพทิวทัศน์ (Landscape) เป็นภาพที่แสดงความงาม หรือความประทับใจในความงาม ของ ธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อม ของศิลปินผู้วาด ภาพทิวทัศน์ยังแบ่งเป็นลักษณะต่าง ๆ ได้อีก คือ 4.1 ภาพทิวทัศน์ผืนน้ำ หรือ ทะเล (Seascape ) 4.2 ภาพทิวทัศน์พื้นดิน (Landscape) 4.3 ภาพทิวทัศน์ของชุมชนหรือเมือง (Cityscape)
5. ภาพประกอบเรื่อง (Illustration) เป็นภาพที่เขียนขึ้นเพื่อบอกเล่าเรื่องราว หรือถ่ายทอดเหตุการณ์ ต่าง ๆ ให้ผู้อื่นได้รับรู้ โดยอาจเป็นทั้งภาพประกอบเรื่องในหนังสือ พระคัมภีร์ หรือภาพเขียนบนฝาผนัง อาคาร สถาปัตยกรรมต่าง ๆ และรวมถึงภาพโฆษณาต่าง ๆ ด้วย
6. ภาพองค์ประกอบ (Composition) เป็นภาพที่แสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของศิลปะ และ ลักษณะในการจัดองค์ประกอบ เพื่อให้เกิดความรู้สึกต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้สร้าง โดยที่อาจไม่เน้น แสดงเนื้อหาเรื่องราวของภาพ หรือ แสดงเรื่องราวที่มาจากความประทับใจ โดยไม่ยึดติดกับความเป็นจริง ตามธรรมชาตินาๆ ชนิดนี้ ปรากฏมากในงานจิตรกรรมสมัยใหม่

7. ภาพลวดลายตกแต่ง (Decorative painting) เป็นภาพวาดลวดลายประกอบเพื่อตกแต่งสิ่งต่าง ๆ ให้ เกิดความสวยงามมากขึ้น เช่น การวาดลวดลายประดับอาคาร สิ่งของเครื่องใช้ ลวดลายสัก ฯลฯ




ประติมากรรม (Sculpture)
เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการสร้างรูปทรง 3 มิติ มีปริมาตร มีน้ำหนักและกินเนื้อที่ในอากาศ โดยการใช้วัสดุชนิดต่าง ๆ วัสดุที่ใช้สร้างสรรค์งานประติมากรรม จะเป็นตัวกำหนด วิธีการสร้างผลงาน ความงามของงานประติมากรรม เกิดจากการแสงและเงา ที่ เกิดขึ้นในผลงานการสร้างงานประติมากรรมทำได้ 4 วิธี คือ
1. การปั้น (Casting) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุ ทีเหนียว อ่อนตัว และยึดจับตัว กันได้ดี วัสดุที่นิยมนำมาใช้ปั้น ได้แก่ ดินเหนียว ดินน้ำมัน ปูน แป้ง ขี้ผึ้ง กระดาษ หรือ ขี้เลื่อยผสมกาว เป็นต้น
2. การแกะสลัก (Carving) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุที่ แข็ง เปราะ โดยอาศัย เครื่องมือ วัสดุที่นิยมนำมาแกะ ได้แก่ ไม้ หิน กระจก แก้ว ปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น
3. การหล่อ (Molding) เป็นการสร้างรูปทราง 3 มิติ จากวัสดุที่หลอมตัวได้และกลับแข็ง ตัวได้ โดยอาศัยแม่พิมพ์ ซึ่งสามารถทำให้เกิดผลงานที่เหมือนกันทุกประการตั้งแต่ 2 ชิ้น ขึ้นไป วัสดุที่นิยมนำมาใช้หล่อ ได้แก่ โลหะ ปูน แป้ง แก้ว ขี้ผึ้ง ดิน เรซิ่น พลาสติก ฯลฯ รำมะนา (ชิต เหรียญประชา)
4. การประกอบขึ้นรูป (Construction) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ โดยนำวัสดุต่าง ๆ มา ประกอบเข้าด้วยกัน และยึดติดกันด้วยวัสดุต่าง ๆ การเลือกวิธีการสร้างสรรค์งานประติมากรรม ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ต้องการใช้ ประติมากรรม ไม่ว่าจะสร้างขึ้นโดยวิธีใด จะมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ แบบนูนต่ำ แบบนูนสูง และแบบลอยตัว ผู้สร้างสรรค์งานประติมากรรม เรียกว่า ประติมากร
ประเภทของงานประติมากรรม
1.ประติมากรรมแบบนูนต่ำ ( Bas Relief ) เป็นรูปที่เป็นนูนขึ้นมาจากพื้นหรือมีพื้นหลัง รองรับ มองเห็นได้ชัดเจนเพียงด้านเดียว คือด้านหน้า มีความสูงจากพื้นไม่ถึงครึ่งหนึ่งของรูป จริง ได้แก่รูปนูนแบบเหรียญ รูปนูนที่ใช้ประดับตกแต่งภาชนะ หรือประดับตกแต่งอาคารทาง สถาปัตยกรรม โบสถ์ วิหารต่างๆ พระเครื่องบางชนิด
2.ประติมากรรมแบบนูนสูง ( High Relief ) เป็นรูปต่าง ๆ ในลักษณะเช่นเดียวกับแบบ นูนต่ำ แต่มีความสูงจากพื้นตั้งแต่ครึ่งหนึ่งของรูปจริงขึ้นไป ทำให้เห็นลวดลายที่ลึก ชัดเจน และ และเหมือนจริงมากกว่าแบบนูนต่ำและใช้งานแบบเดียวกับแบบนูนต่ำ
3.ประติมากรรมแบบลอยตัว ( Round Relief ) เป็นรูปต่าง ๆ ที่มองเห็นได้รอบด้านหรือ ตั้งแต่ 4 ด้านขึ้นไป ได้แก่ ภาชนะต่าง ๆ รูปเคารพต่าง ๆ พระพุทธรูป เทวรูป รูปตามคตินิยม รูปบุคคลสำคัญ รูปสัตว์ ฯลฯ
สถาปัตยกรรม (Architecture)
เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการก่อสร้างสิ่งก่อสร้าง อาคาร ที่อยู่อาศัยต่าง ๆ การวางผังเมือง การจัดผังบริเวณ การตกแต่งอาคาร การออกแบบก่อสร้าง ซึ่งเป็นงานศิลปะ ที่มีขนาดใหญ่ต้องใช้ผู้สร้างงานจำนวนมาก และเป็นงานศิลปะ ที่มีอายุยืนยาว สถาปัตยกรรม เป็นวิธีการจัดสรรบริเวณที่ว่างให้เกิดประโยชน์ใช้สอยตามความต้องการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับ ศาสตร์ในสาขาต่าง ๆ เช่น วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา และศิลปะ ความงดงาม และคุณค่าของสถาปัตยกรรม ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ ดังนี้ คือ
1. การจัดสรรบริเวณที่ว่างให้สัมพันธ์กันของส่วนต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก 2. การจัดรูปทรงทางสถาปัตยกรรมให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย และสิ่งแวดล้อม 3. การเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกลมกลืน
สถาปัตยกรรมแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ 1. ชนิดที่สร้างขึ้นเพื่อให้มนุษย์เข้าไปอาศัยอยู่ หรือประกอบกิจกรรมต่าง ๆ เช่น อาคาร บ้านเรือน โบสถ์ วิหาร ศาลา ฯลฯ 2. ชนิดที่สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยอย่างอื่น ๆ เช่น อนุสาวรีย์ เจดีย์ สะพาน เป็นต้น ผู้สร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรม เรียนว่า สถาปนิก (Architect)
เว็บไซต์เพิ่มเติม
http://www.architecture.com
www.architecturemag.com
www.architectureweek.com

6 สถาปนิกภายหลังสถาปัตยกรรม ยุคโมเดิร์น
หลุยส์ ไอ คาห์น: จากสารัตถะแห่งอดีตกาลโรเบิร์ต เวนทูรี่: ความซับซ้อนและความขัดแย้งปีเตอร์ ไอเซนแมน: ไดอะแกรมกับการสูญสลายของภาพลักษณ์เลบเบียส วู้ดส์: สงคราม เครื่องจักร และสถาปัตยกรรมมาร์คอส โนแวค: ศิลปินแห่งไซเบอร์สเปซเกร็ก ลินน์: ในเรือนร่างและความซับซ้อน
เส้นทางเดินของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ หรือโมเดิร์น (Modern architecture) ซึ่งพาดผ่าน ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 จวบจนกลางศตวรรษที่ 20 ได้พลิกโฉมกระบวนทัศน์ของมนุษย์ ไปสู่ระบบการคิดและปฏิบัติในเชิงจักรกล อีกทั้งยังเชิดชู 'สุนทรีภาพของจักรกล' ขึ้นมาแทนคุณค่าของ 'มนุษย์' อย่างหมดสิ้น เป็นชั่วขณะหนึ่ง ที่สถาปัตยกรรมได้ถูกสรรค์สร้างขึ้น เพื่อทำหน้าที่ดั่งเครื่องจักร ในการตอบสนองพฤติกรรม และชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ในสังคม ภายใต้แก่นความคิดหลักที่ขนานนามกันว่า 'เหตุผลนิยม (Rationalism)' มากไปกว่าการมุ่งตอบสนองในเชิงศิลปะ หรือศรัทธาทางศาสนาดังเช่นอดีต ต้นกำเนิดของสถาปัตยกรรมโมเดิร์นนั้น อาจเป็นไปตามที่เจอร์เก้น ฮาแบร์มัส (Jurgen Habermas) นักปรัชญาชาวเยอรมันได้กล่าวไว้ว่า เกิดจากผลกระทบ ของการปฏิวัติอุตสาหกรรม และการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง อันท้าทายต่อรูปแบบสถาปัตยกรรม3 ประการ คือ
1. ความต้องการใหม่เชิงคุณภาพ ในการออกแบบสถาปัตยกรรม2. วัสดุใหม่ และเทคนิคในการก่อสร้าง3. การโอนอ่อนของสถาปัตยกรรม ต่อประโยชน์ใช้สอยใหม่ๆ
สถาปนิกตะวันตกจำนวน 6 ท่าน (หลุย ไอ คาห์น, โรเบิร์ต เวนทูรี่, ปีเตอร์ ไอเซนแมน, เลบเบียส วู้ดส์, มาร์คอส โนแวค และเกร็ก ลินน์) ในหนังสือเล่มนี้ เป็นตัวแทนของความเคลื่อนไหวในสถาปัตยกรรม ที่พยายามนำเสนอคำตอบ หรือบทวิพากษ์ ต่อสกุลความคิดแบบโมเดิร์น (a critique of Modernism) ในหนทางที่แตกต่างกัน อันถือเป็นความเคลื่อนไหวในช่วงท้ายสุด ก่อนที่ทศวรรษที่ 20 ล่วงพ้นไป นักคิดเหล่านี้ ต่างช่วยกันผลักดันสถาปัตยกรรม ให้หลุดพันไปจากหนทางอันตีบตันเดิมๆ ถึงแม้ว่าบางแนวทางขัดแย้งกันเอง หรือคงอยู่เพียงชั่วคราว
บทความเกี่ยวกับสถาปนิกทั้ง 6 ไม่อาจครอบคลุมกระแสความคิดทางสถาปัตยกรรม หลังโมเดิร์นได้ครบถ้วน แต่น่าจะให้ภาพรวมได้ในระดับหนึ่ง โดยเริ่มต้นที่ หลุย คาห์น ผู้เป็นสถาปนิกในช่วงรอยต่อระหว่างโมเดิร์นตอนปลาย และโพสต์โมเดิร์น จนถึงมาร์คอส โนแวค ผู้นำสถาปัตยกรรมล้ำเข้าไปสู่โลกของไซเบอร์สเปซ อันไร้ตัวตนทางกายภาพ และท่ามกลางจุดเชื่อมต่อแห่งสหัสวรรษที่เพิ่งผ่านพ้นไป.

บรรณานุกรม

http://www.mew6.com/composer/art/painting.php
http://www.mew6.com/composer/art/sculpture.php
http://www.mew6.com/composer/art/architecture.php

ชื่อ นางสาว นรมน คำดี
ชั้นม.4/7 เลขที่37

ไม่มีความคิดเห็น: